วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

คำถาม 5 ข้อ

สื่อสิ่งพิมพ์

ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์            พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคำที่เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ไว้ดังนี้ คำว่าสิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี
ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน
          “สื่อ หมายถึง ก. ทำการติดต่อให้ถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน
                            น. ผู้หรือสิ่งที่ทำการติดต่อให้ถึงกัน หรือชักนำให้รู้จักกัน
          “พิมพ์ หมายถึง ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ เป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า ทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา
                            น. รูป , รูปร่าง, ร่างกาย, แบบ
           ดังนั้น สื่อสิ่งพิมพ์จึงมีความหมายว่า สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่าง ๆ

ประวัติสื่อสิ่งพิมพ์        ประวัติการพิมพ์
                “หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะได้ปรากฏบนผนังถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปน และถ้ำลาสควักซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส มีผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนัง ถ้าเป็นรูปสัตว์ลายเส้นจึงเป็นหลักฐานในการแกะพิมพ์ เป็นครั้งแรกของมนุษย์ หลังจากนั้นได้มีบุคคลคิดวิธีการทำกระดาษขึ้น จนมาเป็นการพิมพ์ในปัจจุบัน นั่นคือ ไซลั่น ซึ่งมีเชื้อสายจีน ชาวจีน ได้ผลิตทำหมึกแท่งขึ้น ซึ่งเรียกว่า บั๊ก
ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย
          ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนา คริสต์ขึ้น และหลังจากนั้นหมอบรัดเลย์เข้ามาเมืองไทย และได้เริ่มด้านงานพิมพ์จนสนใจเป็นธุรกิจด้านการพิมพ์
           ในเมืองไทย พ.ศ.2382 ได้พิมพ์เอกสารทางราชการเป็นชิ้นแรก คือ หมายประกาศห้ามสูบฝิ่น
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างพิมพ์จำนวน 9,000 ฉบับ ต่อมาเมื่อวันที่ ก.ค.2387 ได้ออกหนังสือฉบับแรกขึ้น คือ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (Bangkok Recorder) เป็นจดหมายเหตุอย่างสั้น
ออกเดือนละ 2 ฉบับ และใน 15 มิ.ย. พ.ศ.2404 ได้พิมพ์หนังสือเล่มออกจำหน่ายโดยซื้อลิขสิทธิ์จาก
หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัยและได้เริ่มต้นการซื้อขาย ลิขสิทธ ิ์จำหน่ายในเมืองไทย
หมอบรัดเลย์ได้ถึงแก่กรรมในเมืองไทยกิจการ การพิมพ์ของไทยจึงเริ่มต้นเป็นของไทย หลังจากนั้น     ใน พ.ศ.2500 ประเทศไทยจึงนำ เครื่องพิมพ์แบบโรตารี ออฟเซท (Rotary off Set) มาใช้เป็นครั้งแรก โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชนำเครื่องหล่อเรียงพิมพ์ Monotype มาใช้กับตัวพิมพ์ภาษาไทย ธนาคาร แห่งประเทศไทยได้จัดโรงพิมพ์ธนบัตรในเมืองไทยขึ้นใช้เอง

กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์       1. หนังสือเรียน แบบเรียน ตำรา เอกสารการสอน
       2. หนังสือพิมพ์
       3. วารสาร นิตยสาร
       4. แผ่นปลิว โฆษณา
       5. หนังสือการ์ตูน
       6. หนังสือนวนิยาย


วิธีการประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก

หลักการของกราฟิกแบบ Raster

                เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ นี้ว่าพิกเซล (Pixel) ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่

หลักการของกราฟิกแบบ Vector

หลักการของกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง แฟ้มจะมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่งภายใน และการออกแบบต่างๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน เป็นต้น

อุปกรณ์ที่ใช้ในงานกราฟิก

-สแกนเนอร์ (Scanner)สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สแกนเนอร์แบ่งป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ

1. สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet - Fed Scanner)
2. สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner)
3. สแกนเนอร์มือถือ (Hand - Held Scanner)

กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล     
กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล   สามารถถ่ายและให้ภาพเป็น  Digital Image ได้  โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแปลงภาพ ทำให้สามารถประหยัดเวลาได้อย่างมากมาย อีกทั้งภาพที่ได้จากกล้องดิจิตอลเป็นภาพที่มีความละเอียด

เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์สำคัญ ซึ่งพิมพ์งานกราฟิกออกมาบนกระดาษ มี 3 ชนิด
                1. เครื่องพิมพ์แบบด็อตแมทริกซ์  (Dot  Matrix  Printer)    ใช้หัวเข็มในการพิมพ์ตัวอักษร ใช้ในงานกราฟิกคุณภาพในการพิมพ์งานกราฟิกต่ำ ใช้พิมพ์เอกสารที่มีลักษณะเป็นข้อความมากกว่าข้อดีทนทาน ผ้าหมึกถูก พิมพ์สำเนาได้ ข้อเสีย พิมพ์เสียงดัง พิมพ์ช้า งานค่อนข้างหยาบ
                2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer) หรือ Desk Jet  เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีราคาถูกและ ความเอียดสูง โดยอาศัยการพ่นหมึกจากตลับขาว-ดำ และสีบนกระดาษด้วยความเร็วสูง     นิยมใช้กัน มากในงานกราฟิก ข้อดีคือพิมพ์ได้ละเอียด คมชัด เสียงเงียบ ข้อเสีย  หมึกราคาแพงและแห้งช้า
 3.  เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)  เครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพสูง   พิมพ์ภาพได้ความละเอียด300-1200 จุดต่อนิ้ว ข้อดีพิมพ์ตัวอักษรคมชัดกว่าแบบอื่น พิมพ์ได้รวดเร็ว ข้อเสีย พิมพ์สำเนาไม่ได้
กระดานกราฟิก
            กระดานกราฟิก (Graphic Tablet) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์กราฟิกโดยช่วยให้สามารถวาดภาพกราฟิกในคอมพิวเตอร์ได้ เช่นเดียวกับการวาดภาพบนกระดาษ อุปกรณ์นี้จะมีส่วนที่เป็นเมนูคำสั่งบนอุปกรณ์และส่วนวาดภาพ เมื่อลากเส้นบนส่วนวาดภาพโดยใช้ปากกาที่ให้มาจะปรากฏเส้นบนจอคอมพิวเตอร์ในลักษณะเดียวกัน นอกจากนั้นยังสามารถเปลี่ยนสีปากกา  และระบายสีได้ อุปกรณ์นี้เหมาะกับงานกราฟิกทางด้านศิลปะหรือการตกแต่งภาพที่ได้ จากอุปกรณ์ นำเข้าภาพ
                คอมพิวเตอร์กราฟิก
1.    เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี CPU รุ่น Pentium หรือรุ่นที่สูงกว่า
2.    ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows98 /Windows ME/Windows2000/ WindowsXP
         หรือ Windows NT4.0 ที่ติดตั้ง Service Pack 4 ,5 หรือ 6a เป็นอย่างน้อย
3.    RAM อย่างน้อย 128 MB ขึ้นไป              
4.    Hard Disk เนื้อที่ว่างอย่างน้อย 125  MB
5.    การ์ดจอแสดงผลสีหน้าจอ  256 สี  (8 บิต)   หรือ 24 บิต ขึ้นไปสำหรับงานกราฟฟิก
             6.   แสดงผลความละเอียดของจอภาพ 800 X 600 พิกเซล
จอสัมผัส  (Touch screen ) จะทำงานคล้ายกับปากกาแสงแต่จอภาพจะเคลือบสารพิเศษ ทำให้สามารถรับตำแหน่งของการสัมผัสด้วยมือได้ทันที
พล็อตเตอร์ (Plotter) เป็นอุปกรณ์แสดงผลกราฟิกที่มีปากกาเคลื่อนที่บนแกน สามารถเขียนรูปร่างต่าง ๆ    การพิมพ์ของเครื่องพล็อตเตอร์    มักจะนิยมใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นเวกเตอร์    เช่นแบบแปลนบ้าน แบบแปลนอาคาร หรือแบบแปลนทางวิศวกรรม
                เครื่องพล็อตเตอร์จะมีที่ใส่กระดาษพิมพ์ขนาดใหญ่ มีปากกาในการพิมพ์หลายสี ลักษณะการทำงานเหมือนกับการเขียนของคนเรา โดยใช้ปากกาเป็นตัวเขียนดึงกลับไปมา ส่วนกระดาษจะเป็นส่วนที่เคลื่อนที่

ระบบสีของคอมพิวเตอร์
ระบบสีของคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกับการแสดงผลของแสงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีการแสดงผลสีใด  บนจอภาพจะแสดงเป็น สีดำหากสีทุกสีแสดงพร้อมกันจะเห็นสีบนจอภาพเป็น สีขาวส่วนสีอื่น ๆ  เกิดจากการแสดงสีหลาย ๆ สี  แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การแสดงสีระบบ Additive
                -การแสดงสีระบบ Additive
สีในระบบ Additive  ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี คือ แดง (Red) เขียว (Green)  น้ำเงิน (Blue)เรียกรวมกันว่า  RGB หรือ แม่สี
                -ระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์
                ระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ประกอบด้วย สีฟ้า (Cyan) สีม่วงแดง (Magenta)  และสีเหลือง(Yellow)   คือ ระบบ CMYK
                -วรรณะของสี
จากการที่นักเรียนได้ศึกษาเรื่อง แม่สี ในกลุ่มต่างๆ และเรื่องวงจรสีมาแล้ว รวมทั้งได้ทำกิจกรรมต่างๆ คงพอทำให้มีพื้นฐานทางการใช้สีในงานศิลปะแต่ทราบหรือไม่ว่าสีที่นักเรียนผสมออกมาทั้ง 12 สีนั้น สามารถแยกออกเป็นสองกลุ่มตามค่าความเข้มของสี หรือที่เรียกว่าวรรณะของสี (Tone of color)  วรรณะของสีก็คือ ค่าความแตกต่างของสีแต่ละด้านของวงจรสีที่แสดงถึงความรู้สึกที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเสียงเพลงหรือเสียงดนตรีก็คือเสียงสูง เสียงต่ำ ที่แสดงออกทางอารมณ์ ที่มีการเคลื่อนไหว มีชีวิตชีวา หรือเศร้าโศกหรือรันทดใจ
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ

             คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านการออกแบบ คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทกับงาน
ด้านการออกแบบในสาขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น งานด้านสถาปัตย์และการออกแบบภายในอาคาร การออกแบบรถยนต์ รวมถึงการออกแบบวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโปรแกรมที่ใช้จะเป็นโปรแกรม 3 มิติ เพราะสามารถกำหนดสีและแสงเงาได้เหมือนจริงที่สุด อีกทั้งสามารถดูมุมมองต่าง ๆ ได้ทุกมุมมอง
           กราฟและแผนภาพ
            คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการแสดงภาพกราฟ และแผนภาพของข้อมูลได้เป็นอย่างดี  โปรแกรมทางกราฟิกทั่วไปในท้องตลาด   จะเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพกราฟ   และแผนภาพ โปรแกรมเหล่านี้สามารถสร้างกราฟได้หลายแบบ เช่น กราฟเส้น กราฟแท่ง  และกราฟวงกลมนอกจากนี้ยังสามารถแสดงภาพกราฟได้ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ทำให้ภาพกราฟที่ได้ดูดีและน่าสนใจ กราฟและแผนภาพทางธุรกิจ เช่น กราฟ หรือแผนภาพแสดงการเงิน สถิติ และข้อมูลทางเศรษฐกิจ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารหรือผู้จัดการกิจการมาก เนื่องจากสามารถทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิม ในงานวิจัยต่าง ๆ เช่น การศึกษาทางฟิสิกส์ กราฟ และแผนภาพ มีส่วนช่วยให้นักวิจัยทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายขึ้น เมื่อข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์มีจำนวนมาก
                ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์  หรือ  GIS  (Geographical Information System)   ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการแสดงข้อมูลในทำนองเดียวกับกราฟและแผนงาน ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกเก็บลงในระบบคอมพิวเตอร์ แล้วให้ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกจัดการแสดงข้อมูลเหล่านั้น ออกมาทางจอภาพในรูปของแผนที่ทางภูมิศาสตร์
ภาพศิลป์โดยคอมพิวเตอร์กราฟิก

               
                การวาดภาพในปัจจุบันนี้ใคร ๆ ก็สามารถวาดได้แล้ว โดยไม่ต้องใช้พู่กันกับจานสี แต่จะใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกแทน ภาพที่วาดในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก สามารถกำหนดสี แสง เงา รูปแบบลายเส้นที่ต้องการได้โดยง่าย    ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์ หลายชิ้นก็เป็นงานจากการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพก็คือ สามารถแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ต้องการได้ง่าย     และสามารถนำภาพต่าง ๆ เก็บในระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์(Scanner) แล้วนำภาพเหล่านั้นมาแก้ไข
ข้อแตกต่างระหว่างโหมดสีRGBและCMYK
 RGB
                    เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือ แดง (Red), เขียว (Green) และน้ำเงิน (Blue) เมื่อนำมาผสมผสานกันทำให้เกิดสีต่าง ๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มมาก เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่าแบบ Additive หรือการผสมสีแบบบวก

 CMYK
                    เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วย สีหลัก 4 สี คือ สีฟ้า (Cyan), สีม่วงแดง (Magenta), สีเหลือง (Yellow) และสีดำ (Black) เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำ แต่จะไม่ดำสนิท เนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลบ (Subtractive)
                  หลักการเกิดสีของระบบนี้ คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ เช่น      สีฟ้าดูดกลืนแสงของสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลักของระบบ RGB การเกิดสีในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB

โปสการ์ด

นามบัตร

ปุ่ม 5 ปุ่ม

Cawaii Maxgazine